วัวชนพื้นเมือง ของไทยมีกี่สายพันธุ์
วัวชนพื้นเมือง ของไทยมีกี่สายพันธุ์ ได้มีการเลี้ยงดูมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดในสายพันธุ์ดั้งเดิม
พันธุ์พื้นเมือง เป็นโคที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน มีขนาดเล็ก ทนร้อน ทนต่อโรคและแมลง หากินเก่ง ให้ลูกดก สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบได้ดี ซึ่งเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ และพื้นที่เลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลง การเลี้ยงโคพื้นเมืองจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่เกษตรกรรายย่อยนำมาเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ แต่ ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจุบันโคพื้นเมืองมีปริมาณลดลง เนื่องจากมีการนำโคสายเลือดยุโรปมาผสมพันธุ์ และมีการขยายพื้นที่เลี้ยงอย่างกว้างขวาง ทำให้ได้โคลูกผสมที่ให้ผลผลิตที่สูงขึ้น ได้คุณภาพเนื้อและราคาที่ดีกว่า ดังนั้นโคพื้นเมืองจึงมีปริมาณลดลง
เนื่องจากนโยบายการเลี้ยงโคที่รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ได้เน้นการผลิตเพื่อบริโภคและทดแทนการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยง โคพันธุ์ต่างประเทศทั้งพันธุ์แท้และลูกผสมจนทำให้โคพื้นเมืองไม่ได้รับความเอาใจใส่ในด้านการเลี้ยงดู
การปรับปรุงพันธุ์และขาดการอนุรักษ์พันธุ์อย่างจริงจัง ทำให้โคพื้นเมืองซึ่งสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรถูกละเลยไป ทั้ง ๆ ที่โคพื้นเมืองมีคุณลักษณะที่โดดเด่นเหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงดูของเกษตรกรและสภาพท้องถิ่นมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมมานับ พัน ๆ ปี
ให้ลูกดกในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงง่ายโดยปล่อยให้หากินตามทุ่งหญ้าสาธารณะตามป่าละเมาะไล่ต้อนตามป่าเขาสามารถใช้เศษเหลือจากผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลักนอกจากนี้ยังใช้ ต้นทุนในการเลี้ยงดูต่ำกว่าโคพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
พันธุ์พื้นเมืองในประเทศไทย
สานพันธุ์พื้นเมืองของไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bos Taurus L. มีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ
แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วยแบ่งออกตามลักษณะรูปร่างภายนอกและวัตถุประสงค์การเลี้ยงได้ 4 สายพันธุ์ คือ
-โคพื้นเมืองโคอีสาน
-โคพื้นเมืองภาคเหนือ (ขาวลำพูน)
-โคพื้นเมืองภาคใต้ (โคชน)
-โคพื้นเมืองภาคกลาง
ข้อดีของโคพื้นเมือง
-เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหาร เพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยงแบบไล่ต้อน โดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มีอย่างจำกัดได้เป็นอย่างดี
-ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ
-ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี
-ใช้แรงงานได้ดี
-แม่โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มันโคพันธุ์ตาก โคกำแพงแสน หรือโคกบินทร์บุรี
-มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารไทยสามารถใช้งานได้
ข้อเสีย
-เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด
-ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดโคขุนต้องการ คือที่น้ำหนักมีชีวิต 450 กก. และเนื้อต้องไม่มีไขมันแทรกออกมา
-เนื่องจากแม่โคมีขนาดที่เล็ก จึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ได้ เช่น ชาร์โรเล่ส์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการคลอดยาก
ช่องทางติดตาม
เว็บไซต์ : Wuachon888.info
แฟนเพจเฟสบุ๊ค : วัวชนแดนใต้888
ช่องยูทูป : สืบสานวัวชน888
ช่อง tiktok : สืบสานวัวชน
Twitter : เด็กใต้บ้านๆ
Line Official : @bullfight888