เข้าสู่ระบบ

แทงวัวชนออนไลน์ กับเว็บพนันยอดนิยมอันดับ 1 ของเอเชีย

วัวชน หรือ กีฬาวัวชน คือกีฬาพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ในอดีตนับว่าเป็นกีฬาที่สร้างขึ้นมาเพื่อความสนุกสนาน โดยจะมีกติกาในการแข่งขันถึง 35 ข้อ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่รับชมกีฬาวัวชน เกิดความสนุกตื่นเต้น และ ประทับใจในการแข่งขันกีฬาวัวชน และในเวลาต่อมาได้มีการเดิมพันวัวชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความสนุกสนาน และ เพิ่มความตื่นเต้น ให้กับกีฬาวัวชนได้เป็นอย่างดี และในปัจจุบันนี้ทางเว็บ WUACHON888.INFO ได้ทำการพัฒนารูปแบบการเดิมพันวัวชน ให้กลายเป็นการ แทงวัวชน ผ่านทางระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ต้องการเดิมพัน จนในปัจจุบันนี้เว็บ wuachon888 ได้กลายเป็นเว็บไซต์เดิมพันวัวชนออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2567 เลยทีเดียว

เข้าสู่ระบบ

โรคปาก และเท้าเปื่อยในวัวชน

โรคปาก และเท้าเปื่อยในวัวชน

โรคปาก และเท้าเปื่อยในวัวชน

โรคปาก และเท้าเปื่อยในวัวชน สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD) ที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์

3 ไทป์

คือโอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน (Asia I) เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้ กล่าวคือถ้าฉีดวัคซีนเอฟ ไทป์ เอ ให้ หรือสัตว์เคยป่วยเป็นโรคเอฟ ไทป์ เอ มาก่อน สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อโรคเอฟ ไทป์เอ เท่านั้น แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเอฟไทป์ โอ หรือ ไทป์ เอเชียวัน ดังนั้นหากมีโรคเอฟ ไทป์ โอ หรือเอเชียวันระบาดสัตว์ก็อาจจะติดโรคได้ โรคนี้มีระยะฟักตัว ประมาณ 2-8 วัน

อาการ

โคที่เป็นโรคนี้ จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพอง เกิดที่ริมฝีปากในช่องปาก เช่น เหงือกและลิ้น ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บมาก เดินกะเผลก เมื่อเม็ดตุ่มแตกออกอาจมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้แผลหายช้าขณะที่โคเป็นโรคจะผอมน้ำนมจะลดลงอย่างมาก ในโคอัตราการติดโรคสูงถึง 100% อัตราการตาย 0.2-5% ในลูกโคอัตราการตายอาจสูงถึง 50-70% โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกโคที่ยังดูดนมอัตราการตายอาจสูงถึง 100%

การตรวจวินิจฉัย
เนื่องจากวัคซีนแต่ละไทป์ ไม่สามารถให้ความคุ้มข้ามไทป์กันเมื่อมีสัตว์ป่วยด้วย โรคปาก และเท้าเปื่อย ควรตรวจให้รู้ว่าเป็นไทป์ไหน เพื่อจะได้ฉีดวัคซีนป้องกันไทป์นั้น

การรักษา
ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน แผลจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าแผลมีการติดเชื้อให้ทำความสะอาดแผล สำหรับที่กีบใส่ยาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้ป้ายแผล เช่น เพนนิซิลิน หรือฟิวราโซลิโดน สำหรับที่ปากป้ายด้วยยาสีม่วง (เจนเชียนไวโอเลท)

การควบคุม และป้องกัน
ฉีดวัคซีนโรคเอฟทั้ง 3 ไทป์ โดยฉีดครั้งแรกเมื่อโคอายุ 6 เดือน และฉีดซ้ำทุก ๆ 6 เดือน

การเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ

วิธีเก็บตัวอย่างเชื้อ

1. บริเวณที่สามารถเก็บเชื้อได้คือ แผลที่ลิ้น, เยื่อบุภายในช่องปาก, แผลที่กีบ และไรกีบ
2.ในโค กระบือ ให้เก็บจากแผลที่เยื่อลิ้น และบริเวณปาก โดยใช้ผ้าและภาชนะที่สะอาด
3.ในสุกร หรือโค กระบือ แพะ แกะ ที่เดินเขยกแสดงว่า เชื้อแพร่กระจายไปถึงเท้าแล้ว และไม่ สามารถเก็บเยื่อลิ้นได้ ควรเก็บเชื้อจากบริเวณไรกีบ ซอกกีบ หรืออุ้งกีบแทน โดยทำความสะอาด บริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาดก่อน
4.ขนาดของเนื้อเยื่อควรเก็บเชื้อไม่น้อยกว่า 1 กรัม ถ้าเห็นว่าเนื้อเยื่อจากสัตว์ตัวหนึ่ง ๆได้น้อยก็ควรเก็บจากตัวอื่นเพิ่มด้วย และแยกขวดเป็นตัว ๆ ไป
5.เก็บเนื้อเยื่อบรรจุลงในขวดที่มีน้ำยา 50% กลีเซอรีนบัพเฟอร์ เขย่าให้น้ำท่วมเนื้อเยื่อ ปิดจุกให้แน่น ปิดทับด้วยเทปกันน้ำยารั่วไหล ทำเครื่องหมายขวดให้ชัดเจน ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด ภายนอกขวดก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการ
6.การนำส่ง ขวดบรรจุเนื้อเยื่อ หรือน้ำเหลืองที่ได้ฆ่าเชื้อภายนอกแล้ว ให้ใส่ลงในภาชนะอีก 1 ชั้นเพื่อกันขวดแตกจากนั้นห่อทับด้วยกระดาษหลาย ๆ ชั้น หรือห่อด้วยวัสดุอื่นกันขวดแตก แล้วบรรจุกล่องหรือภาชนะที่ไม่แตกง่าย พร้อมกับบันทึกประวัติสัตว์ผู้ป่วย รีบนำส่งทันที หรือในกรณีจำเป็นต้องเก็บไว้ก่อน ควรเก็บในตู้เย็น หรือกระติกน้ำแข็ง วิธีนำส่งที่ดีที่สุด คือ นำส่งในสภาพแช่เย็น โดยปริมาณน้ำแข็งที่เพียงพอ จนถึงห้องปฏิบัติการ  ในกรณีไม่สามารถนำส่งในสภาพแช่เย็น ก็อาจส่งทางไปรษณีย์โดยทาง EMS

หมายเหตุ

1.หากพบตุ่มใสที่ลิ้น, อุ้งเท้า, ไรกีบ ของโคและสุกร ซึ่งมักพบในสัตว์ที่เพิ่งเป็นโรคใหม่ๆ หากสามารถเก็บน้ำจากตุ่มใส ส่งไปได้ก็จะเป็นการดียิ่งควรเก็บก่อนที่ตุ่มใสจะแตก โดยใช้เข็มดูดและเก็บในขวดที่สะอาด เก็บในสภาพแช่เย็นและรีบนำส่งห้องปฏิบัติการ

2.การเก็บเชื้อควรเก็บจากแผลหรือเนื้อเยื่อจากสัตว์ที่เริ่มแสดงอาการป่วยเป็นโรค เพราะจะมีปริมาณไวรัสมากเพียงพอสำหรับการตรวจ

3.ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดเนื้อเยื่อที่จะส่งไปตรวจ เพราะจะทำให้ผลการวินิจฉัยผิดพลาดได้

4.ภายหลังการเก็บเชื้อใส่ขวดเรียบร้อยแล้วควรทำความสะอาดภายนอกขวดและอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนมือผู้เก็บเนื้อเยื่อ เพื่อป้องกันไม่ให้นำเชื้อไประบาดที่อื่น

5.ไม่แนะนำให้ส่งตัวอย่างที่เป็นซีรั่ม เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการจำแนกชนิดไวรัสเพราะวิธีนี้จะมีข้อผิดพลาดได้ เนื่องจากการตรวจซีรั่มไม่สามารถบ่งบอกชนิดไวรัสได้ว่าสัตว์กำลังป่วยด้วยไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยไทป์ โอ หรือ เอ หรือ เอเชียวันได้ ดังนั้นวิธีที่แม่นยำและถูกต้องที่สุดคือการตรวจวินิจฉัยจากตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ลิ้นหรือกีบของสัตว์ป่วยเท่านั้น

6.กรณีการส่งซีรั่ม เป็นการตรวจหาระดับแอนติบอดี้ต่อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยที่มีในสัตว์ที่เคยป่วยหรือสัตว์ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีน วิธีนี้จะเป็นการตรวจวัดประสิทธิภาพของวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ เพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษาระบาดวิทยา การเฝ้าระวังโรค สำหรับการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยเท่านั้น

ติดตาม โปรแกรมวัวชน ผลวัวชน ข่าวสารวัวชน รวดเร็วก่อนใครได้ที่: เพจเฟสบุ๊ค วัวชนแดนใต้888 หรือแอดมาที่: @BULLFIGHT888

สนใจดูวัวชนสดก่อนใครสมัครสมาชิกเพื่อดูวัวชนเพียง 50 บาทห้ามพลาดเด็ดขาด!!

@Bullfight888
LINE : @Bullfight888