เดิมพันวัวชนออนไลน์กับเว็บที่ให้บริการดีที่สุด WUACHON888.INFO สามารถทำกำไรได้อย่างมั่นใจ มีบริการถ่ายทอดสดวัวชนให้ผู้เล่นสามารถติดตาม ดูวัวชน ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ หากคุณกำลังมองหาเว็บไซต์ที่ให้บริการ วัวชนออนไลน์ ที่มีความน่าเชื่อถือ และ ทำกำไรได้จริง ขอแนะนำให้เข้ามาเดิมพันกับเว็บไซต์ของเรา แล้วคุณจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ สำหรับการเล่นพนันวัวชนในแบบที่ไม่เคยได้สัมผัสจากที่ไหนมาก่อน คุณสามารถติดตาม โปรแกรมวัวชนวันนี้ หรือคู่วัวชนอื่นๆได้ตลอดเวลา เปิดให้เข้ามา แทงวัวชน ผ่านทางระบบออนไลน์ได้แบบไม่มีขั้นต่ำ และ ไม่จำกัดจำนวนเงิน เดิมพันได้อย่างถูกกฎหมาย ไม่ต้องกังวลกับปัญหา หรือ ข้อจำกัดต่างๆอีกต่อไป ต้องที่นี่เท่านั้นเว็บ WUACHON888.INFO
พันธุ์โคพื้นเมืองในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Bos Taurus L. มีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมือง ของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย
พันธุ์โคพื้นเมืองในประเทศไทย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วย แบ่งออกตามลักษณะรูปร่างภายนอกและวัตถุประสงค์การเลี้ยงได้ 4 สายพันธุ์ คือ
1. โคพื้นเมือง โคอีสาน
ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนสั้นเกรียน โดยทั่วไปมีลำตัวสีน้ำตาลแกมแดง แต่อาจมีสีแตกต่างกันหลายสี เช่น ดำ แดง น้ำตาล ขาว เหลือง เป็นต้น หน้ายายบอบบาง หน้าผากแคบ ตะโหนกเล็ก เหนียงคอ และหนังใต้ท้องไม่มากนักมีรูปร่างขนาดเล็ก น้ำหนักแรกเกิด 16 กก. น้ำหนักที่หย่านมเมื่ออายุ 200 วันเฉลี่ย 94 กก. น้ำหนักตัวโตเต็มที่ เพศผู้ 300 – 350 กก. เพศเมีย 22 -250 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 2.71 ปี ระยะการอุ้มท้อง 270 – 275 วัน ช่วงห่างการให้ลูก 395 วัน
การกระจายของประชากร เลี้ยงกันมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งตอนล่างและตอนบน เพื่อใช้ลากจูง เทียมเกวียน และเป็นอาหารโปรตีนที่สำคัญ โดยเฉพาะในงานพิธีและเทศกาลที่สำคัญ
2. โคพื้นเมือง ภาคเหนือ (ขาวลำพูน)
ลักษณะประจำพันธุ์ เขาและกีบเท้า มีสีน้ำตาลส้ม ขอบตา และเนื้อจมูก มีสีชมพูส้ม ขนพู่หา สีขาวไม่มีเหนียงสะดือ ขนาดเหนียงปานกลางไม่พับย่นมาก เหมือนกับโคบราห์มัน น้ำหนักแรกเกิด 18 กก. น้ำหนักที่หย่านมเมื่ออายุ 200 วันเฉลี่ย 122 กก. น้ำหนักตัวโตเต็มที่เพศผู้ 350-450 กก. เพศเมีย 300-350 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 2.5 ปี ระยะการอุ้มท้อง 290-295 วัน ช่วงห่างการให้ลูก 460 วัน
การกระจายของประชากร โคขาวลำพูนเป็นโคพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์หนึ่ง ประวัติความเป็นมาอย่างไรไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด กลุ่มคนบางคนเล่าว่า เกิดจากการกลายพันธุ์ของโคพื้นเมืองในสมัยพระนางจามเทวี เป็นสัตว์คู่บารมีของชนชั้นปกครองสมัยนั้น จากการออกสำรวจของเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษา การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกี่ยวกับข้อมูลของโคขาวลำพูน โดยออกเยี่ยมเยียนเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ในเขตจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ข้อมูลในลักษณะเดียวกันว่า โคขาวลำพูนได้พบเห็นมาช้านานแล้วอย่างน้อยก็ 70 -80 ปี
และจะพบเห็นมากที่สุด ในเขตพื้นที่ของจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เท่านั้น เกษตรกรบางท่านเล่าว่า ชาวเมืองลำพูนนิยมใช้โคขาวลำพูนลากเกวียน เพราะจะทำให้มีสง่า ราศีดี เนื่องจากเป็นโคที่มีลักษณะใหญ่และมีสีขาวปลอดทั้งตัว ใครที่มีโคขาวลำพูนเทียมเกวียนในสมัยก่อนเปรียบได้กับการมีรถเบนซ์ไว้ขับในสมัยนี้นั่นเอง และเนื่องจากมีต้นกำเนิดที่จังหวัดลำพูน จึงเรียกโคพันธุ์นี้ว่า โคขาวลำพูน จากคุณสมบัติที่มีลักษณะเด่น และเป็นลักษณะเฉพาะพันธุ์ โคขาวลำพูนจึงได้รับการคัดเลือก เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
3. โคพื้นเมือง ภาคใต้ (โคชน)
ลักษณะประจำพันธุ์ โคจะมีสีแดง สีน้ำตาลอ่อน ดำ และด่าง ไม่มีเหนียงสะดือ มีเหนียงคอบาง น้ำหนักแรกเกิด 15 กก. น้ำหนักตัวหย่านม เมื่ออายุ 200 วันเฉลี่ย 88 กก. และน้ำหนักตัวโตเต็มที่ เพศผู้ 280 – 320 กก.เพศเมีย 230 – 280 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 3 ปี ระยะการอุ้มท้อง 270 – 275 วัน
การกระจายของประชากร นิยมเลี้ยงกันมากทางภาคใต้ ซึ่งจากการที่คนภาคใต้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เมื่อหลังฤดูเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน ชาวนาจะปล่อยโคออกหากินตามท้องทุ่ง เป็นฝูงใหญ่ โคจากในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้านมีโอกาสได้พบกัน ประกอบกับช่วงฤดูผสมพันธุ์โคตัวผู้จึงชนกันแย่งชิงเป็นจ่าฝูง เพื่อจะได้ยึดครองโคตัวเมีย ชาวบ้านจึงเห็นลีลาการชนของโคบางตัว เกิดความรู้สึกพอใจ ประทับใจ และคัดเลือกไว้เป็นโคขุน ซึ่งโคขุนจะต้องเป็นโคตัวผู้ที่มีลักษณะดี มีอายุประมาณ 4-6 ปี ต้องมีสายพันธุ์เป็นโคชนโดยเฉพาะ ผ่านการเลี้ยงดูให้ร่างกายแข็งแรงและฝึกชนบ่อยๆ จนกลายเป็นโคชนที่มีคุณสมบัติเด่นเฉพาะ เช่น แข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบในการชน และทรหดอดทนเป็นพิเศษ เป็นต้น โคชนมีมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสงขลา
4. โคพื้นเมือง ภาคกลาง
ลักษณะประจำพันธุ์ โคมีนิสัยเปรียว ตื่นตกใจง่าย ลำตัวยาวบาง มีสีแดง สีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลแก่ ดำ และด่างไม่มีเหนียงสะดือ มีเหนียงคอบาง น้ำหนักแรกเกิด 14 กก. น้ำหนักตัวหย่านมเมื่ออายุ 200 วัน เฉลี่ย 78 กก. น้ำหนักตัวโตเต็มที่ เพศผู้ 280-300 กก. เพศเมีย 200-260 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 3 ปี ระยะการอุ้มท้อง 270-275 วัน
การกระจายของประชากร นิยมเลี้ยงกันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม และสุพรรณบรี จากการที่เกษตรกรในจังหวัดดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เพื่อเพราะปลูกเสร็จแล้ว พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวการเกษตรจะนำข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วมาวางเรียงวนในลักษณะวงกลม มีเสาไม้เป็นจุดศูนย์กลางสำหรับผูกโคราว (คาน) โดยใช้วิธีขอแรงานจากโค ของเพื่อนบ้านมาช่วย ซึ่งจะผูกโคเรียงเป็นแถวรายตัวให้พอเพียงกับข้าวที่ตั้งกองรายล้อมไว้
จากนั้นไล่โควิ่งวนเวียนรอบๆ เสาไม้ที่ปักไว้จนกว่าเมล็ดข้าวจะร่วงหล่นจากรวง เกษตรกรจะช่วยกันเก็บฟางออกจนหมด ให้เหลือเฉพาะเมล็ดข้าวเปลือก หลังจากเสร็จสิ้นการเก็บข้าวแล้ว เกษตรกรจะมีเวลาว่างในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จึงได้มีผู้คิดนำวิธีการนี้มาใช้และเพิ่มจำนวนโคที่วิ่งได้มากขึ้น นิยมจัดการแข่งขันในบริเวณวัด ต่อมาเริ่มจัดการแข่งขันนอกวัด จากเริ่มแรกเพื่อความสนุกสนาน และต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการแข่งขันเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ. 2500 จึงได้ริเริ่มเดิมพันการแข่งขันวิ่งวัวลานกันขึ้น
ติดตาม โปรแกรมวัวชน ผลวัวชน ข่าวสาร รวดเร็วก่อนใครได้ที่ เพจเฟสบุ๊ค วัวชนแดนใต้888 และเพจ สืบสารวัวชนหรือแอดมาที่ @Bullfight888