วัวชน หรือ กีฬาวัวชน คือกีฬาพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ในอดีตนับว่าเป็นกีฬาที่สร้างขึ้นมาเพื่อความสนุกสนาน โดยจะมีกติกาในการแข่งขันถึง 35 ข้อ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่รับชมกีฬาวัวชน เกิดความสนุกตื่นเต้น และ ประทับใจในการแข่งขันกีฬาวัวชน และในเวลาต่อมาได้มีการเดิมพันวัวชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความสนุกสนาน และ เพิ่มความตื่นเต้น ให้กับกีฬาวัวชนได้เป็นอย่างดี และในปัจจุบันนี้ทางเว็บ WUACHON888.INFO ได้ทำการพัฒนารูปแบบการเดิมพันวัวชน ให้กลายเป็นการ แทงวัวชน ผ่านทางระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ต้องการเดิมพัน จนในปัจจุบันนี้เว็บ wuachon888 ได้กลายเป็นเว็บไซต์เดิมพันวัวชนออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2567 เลยทีเดียว
โคขาวลำพูน ต้นกำเนิดสายพันธุ์ พระโคแรกนาขวัญ ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพระราชพิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งพระมหากษัติย์ทรงโปรดให้จัดขึ้น เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นขวัญกำลังใจแก่ราษฎร
พระราชพิธีอันสำคัญนี้ พระโค คู่งามซึ่งทำหน้าที่ไถนา และเสี่ยงทายพระโคกินเลี้ยง เพื่อทำนายสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ การทำมาหากินของผู้คนในปีนั้น ๆ เป็นพระโค ที่คัดเลือกมาจากโคสายพันธุ์โคขาวลำพูน โคพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นโคที่มีลักษณะดีครบถ้วนสมบูรณ์ตามตำรา เช่น ขนสวยเป็นมัน เขาโค้งงามสีน้ำตาลส้ม ขอบตาสีชมพู นัยน์ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา หางยาวสีขาว ขนฟู กีบ และข้อเท้าแข็งแรง เป็นต้น
ถึงแม้จะเป็นวัวพื้นเมืองที่มีลักษณะงาม แต่ในเชิงเศรษฐกิจโคขาวลำพูนกลับให้ผลตอบแทนน้อย เหตุเพราะมีรูปร่างเล็ก ให้เนื้อน้อย ชาวบ้านจึงหันไปเลี้ยงวัวพันธุ์เทศที่รูปร่างสูงใหญ่ ให้เนื้อดีแทน ทำให้โคสายพันธุ์โคขาวลำพูนเหลือน้อยมาก ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ได้ประกาศให้เป็นสัตว์อนุรักษ์แล้ว เพราะเกรงว่าโคขาวลำพูนสูญพันธุ์ ทั้งนี้เพราะเห็นว่าโคสายพันธุ์พื้นเมืองนี้มีคุณสมบัติเฉพาะนั่นคือ มีความสมบูรณ์พันธุ์สูง ทนทานต่อโรค พยาธิ และแมลงเขตร้อนแม้จะได้รับการเลี้ยงดูแบบแร้นแค้นก็ตาม จึงเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นชนบทของไทย
ท่ามกลางสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงนี้ ชาวบ้านชุมชนบ้านไร่ป่าคา ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ได้รวมตัวกันเป็น กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขาวลำพูนบ้านไร่ป่าคา ขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2546 เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์โคขาวลำพูนมิให้สูญสิ้นพันธุ์ไปจากเมืองลำพูน รวมทั้งสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน นายอยุธ ไชยยอง ผู้ใหญ่บ้านบ้านไร่ป่าคา หัวหน้าโครงการวิจัย กระบวนการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขาวลำพูน งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เล่าย้อนถึงความเป็นมาของการรวมกลุ่มฯ ในครั้งนี้ว่า
ความคิดเบื้องต้นเริ่มจาก การคิดแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำสวนลำไย ในแต่ละปีจะมีการตัดหญ้า ถางหญ้า เผาทำลายปีละหลายครั้ง ผมเห็นว่า หญ้าเหล่านี้น่าจะมีประโยชน์ในการเลี้ยงวัว การเลี้ยงวัว เป็นอาชีพเสริม จึงได้ประชุมลูกบ้านจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงโคขึ้น ซึ่งตอนแรกจะเลี้ยงโคขุน แต่มีเพื่อนแนะนำว่า น่าจะเลี้ยงโคขาวลำพูนซึ่งเป็นโคพื้นเมือง ของลำพูนที่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว ทำให้ฉุกคิดได้ว่า หากเราเลี้ยงโคขาวลำพูน เพื่อการอนุรักษ์ในโอกาสข้างหน้านอกจากจะได้ผลผลิตแล้ว ยังจะมีประโยชน์ในทางอ้อมอีกด้วย
การทำงานวิจัยทำให้ผู้ใหญ่บ้านอยุธ และสมาชิกกลุ่มฯ ได้มีโอกาสรับรู้เรื่องราวของโคขาวลำพูนซึ่งสัมพันธุ์กับวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างลึกซึ้งมากขึ้น เริ่มจากได้รู้ว่า โคขาวลำพูนนั้นอยู่คู่กับชาวบ้านชุมชนบ้านไร่ป่าคามาแต่โบราณ ทุกครัวเรือนจะเลี้ยงวัวเพื่อใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นวัวสายพันธุ์โคขาวลำพูน
การเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการไถนา เทียมเกวียน เป็นวัวต่าง (บรรทุกของ) รวมทั้งขายเป็นรายได้ และการใช้งานก็เป็นไปด้วยความเคารพ จะเห็นได้จากการมีพิธีกรรมสู่ขวัญโคโดยหลังจากทำนา ผู้เลี้ยงจะนำสวยดอกไม้ไปมัดติดเขาโค ในสวยดอกไม้ประกอบด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ทำพิธีขอขมาลาโทษ พร้อมเลี้ยงเจ้าที่เจ้าทางด้วยไก่ 1 คู่ เพื่อความเป็นสิริมงคล
นอกจากนี้สมาชิกกลุ่ม ยังได้ศึกษารวบรวมภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรท้องถิ่น ในการดูแลรักษาโรคให้โคขาวลำพูนได้เป็นจำนวนมาก อาทิ การใช้เม็ดสะแกผสมปลาร้าโขลกให้ละเอียด กรอกปากโคเพื่อถ่ายพยาธิ,การใช้บอระเพ็ด ผสมหัวผักหนาม น้ำปัสสาวะคน ตำบด หมักดอง 7 วัน ใช้กรอกปาก เพื่อบำรุงกำลัง,การใช้หัวกล้วยเน่าทาแก้กลากเกลื้อน,การใช้น้ำมะขามเปียกทาแก้แผลปากเปื่อย,การใช้เปลือกไม้ประดู่ต้มรดเท้าโคแก้โรค เท้าเปื่อย,การใช้น้ำซาวข้าวผสมเกลือ อมพ่นตา แก้เจ็บตา ตาแดง เป็นต้น องค์ความรู้เหล่านี้ทางสมาชิกได้นำมาปรับใช้ ในการเลี้ยงโคขาวลำพูนของกลุ่มฯ ในเวลาต่อมา ที่สำคัญคือ ได้เรียนรู้ถึงลักษณะเด่นของวัวสายพันธุ์โคขาวลำพูนอย่างถูกต้อง
โคขาวลำพูนหายไปจากหมู่บ้าน มาประมาณ 30 ปีแล้ว เพราะความเจริญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาแทนที่การใช้แรงงานวัว ส่วนชาวบ้านที่เลี้ยงวัวก็หันไปเลี้ยงวัวพันธุ์ต่างประเทศที่โตเร็ว ขายได้ราคาดี การได้รู้ถึงความเป็นมา และคุณลักษณะของโคขาวลำพูน ทำให้มีกำลังในการเลี้ยงโคขาว เพื่อการอนุรักษ์มากขึ้น ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านไร่ป่าคา ให้ข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมกับบอกว่า
ยังมีความรู้เชิงวิชาการ และทักษะเกี่ยวการเลี้ยงโคขาวลำพูนอีกหลายเรื่อง ที่สมาชิกได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมวิจัยในครั้งนี้ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพการผสมพันธุ์ การจัดการโรงเรือน การจัดทำแปลงหญ้า การทำอาหารแห้งจากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อเก็บไว้เลี้ยงวัวในหน้าแล้ง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้กิจกรรมกลุ่มดีขึ้น และมีแนวทางที่จัดเจนมากขึ้น
ควบคู่ไปกับการพัฒนากิจกรรม ด้านการบริหารจัดการ ทางทีมวิจัย ได้มีการดำเนินกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์โคขาวลำพูน ร่วมกับโรงเรียนบ้านหนองบัว ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดยทางคณะครูได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับโคขาวลำพูน ไปสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่น และใช้กิจกรรมในฟาร์มของกลุ่มฯ เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักในคุณค่าของโคขาวลำพูน ไปพร้อมๆ กัน
นายไพบูลย์ ปันดอนตอง ครูโรงเรียนบ้านหนองบัว กล่าวว่าการนำการเลี้ยงโคขาวลำพูน สู่การเรียนรู้ให้นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบัว โรงเรียนนำนักเรียน ไปสัมผัสการเลี้ยงโคขาวที่ฟาร์มเลี้ยงโคขาวลำพูนของกลุ่มฯ และเมื่อกลับไปโรงเรียนครูจะจัดกิจกรรม กระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการเชื่อมโยงต่อยอดไปหลายๆ วิชา เช่นศิลปะ วาดภาพโค ปั้นโค แต่งเพลงโคขาวเพื่อสร้างความผูกพันในรูปลักษณ์ตัวโค ภาษาไทยแต่งกลอน แต่งเรียงความ เกี่ยวกับโคขาวลำพูน วิชาภาษาอังกฤษ แต่งเพลง แต่งประโยคง่ายๆ เกี่ยวกับโค หรือทำหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับการเลี้ยงโคขาวลำพูน วิชาคอมพิวเตอร์ ให้นักเรียนทำ power point เกี่ยวกับการเลี้ยง โคขาวลำพูน เป็นต้น
จากการเรียนในหลักสูตรท้องถิ่น ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโคขาวลำพูนมากขึ้น กระบวนการเรียนรู้ทำให้นักเรียนได้ให้เรียนรู้ ถึงวิถีชีวิตคนในชุมชนตัวเองทั้งในอดีต และปัจจุบัน และเกิดความรักความผูกพันในท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ครูโรงเรียนบ้านหนองบัวย้ำถึงผลที่มีต่อนักเรียนปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขาวบ้านไร่ป่าคา มีโคขาวทั้งสิ้น 44 ตัว เป็นแม่โค 34 ตัว และลูกโค 10 ตัว โดยทางกลุ่มมีแผนในการดำเนินงานที่ชัดเจนว่า 5 ปีแรก ทางกลุ่มจะมุ่งเน้นการขยายพันธุ์โคขาวลำพูนให้ได้มากที่สุดโดยจะไม่มีการขาย
ส่วนแผนงานในอนาคตนั้นได้มีการกำหนดว่า จะมีการจำแนกการเลี้ยงโคของกลุ่มออกเป็น 3 แนวทาง แนวทางแรกเป็นการเลี้ยงโคขาวสายพันธุ์บริสุทธิ์ เพื่อการอนุรักษ์ แนวทางที่สองเป็นการเลี้ยง เพื่อผสมพันธุ์เป็นพันธุ์โคขาวบ้านไร่ป่าคาเพื่อขาย และแนวทางที่สามเป็นการเลี้ยงโคขาวลำพูนลูกผสม เพื่อขายเพราะจากการศึกษาพบว่าโคขาวลำพูนผสมกับบรามัน จะเลี้ยงง่าย, โคขาวลำพูนผสมกับชาโลเล หรือวัวกึ่งเนื้อนม จะโตเร็วทั้งนี้ให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการเลี้ยงโคที่มั่นคง
สิ่งที่ทางชุมชนอยากจะดำเนินการในอนาคต คือการเชื่อมโยงงานวิจัยการเลี้ยงโคขาวไปสู่เรื่องการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง เพราะทีมวิจัยมองว่าลำไย พืชเศรษฐกิจในปัจจุบัน แนวโน้มด้านการตลาดไม่ค่อยดีนัก ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ หรือสร้างความพร้อมต่อกันต่อไปผู้ใหญ่บ้านอยุธ กล่าวถึงแผนงานในอนาคตทิ้งท้ายเอาไว้ให้ติดตาม
การเลี้ยงโคขาวลำพูนเพื่อการอนุรักษ์ และเพื่อเสริมรายได้ของชุมชนบ้านไร่ป่าคา ซึ่งผู้นำหมู่บ้านได้ริเริ่มขึ้นในครั้งนี้ แม้จะยังอยู่ในย่างก้าวแรกๆ แต่จำนวนลูกโคที่เพิ่มขึ้นก็นับเป็นดอกผลที่น่าชื่นใจ ซึ่งในอนาคตหากความพยายามในการค้นหา ความลงตัวของวัตถุประสงค์สองข้อหลักในข้างต้นดำเนินไปได้สำเร็จ ชุมชนแห่งนี้อาจจะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ในการเลี้ยงโคขาวลำพูน ให้กับชุมชนในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ หรือจังหวัดใกล้เคียงได้อีกด้วย และนั่นหมายถึงว่า โคขาวลำพูนจะไม่สูญพันธุ์อย่างที่หวั่นเกรงกันอยู่ในวันนี้